ฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็ก ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ข้อมูลระบาดวิทยาปี 2560 พบว่า หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 8,184 คนต่อปี และมีอัตราเสียชีวิตเกิน 50% นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หลักการสำคัญคือ ควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไปจนถึงอายุ 26 ปี นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว วัคซีนยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วยรู้จักวัคซีน HPV วัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ สายพันธุ์ HPV ไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยวัคซีนที่ป้องกัน 2 สายพันธุ์นี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% มีชื่อว่า Cervarix ส่วนวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเช่นเดียวกัน และยังป้องกันโรคหูดที่อวัยวะเพศอีก 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 6 และ 11 ได้ถึง 95% มีชื่อว่า Gardasil ซึ่งการจะเลือกฉีดวัคซีนชนิดใดนั้น ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดีที่สุด
- ประสิทธิภาพวัคซีนสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- ฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของเด็กผู้หญิงสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดีในช่วง 9 – 15 ปี ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง แต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 ครั้ง
- ผู้หญิงอายุ 9 – 26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12ปี
- เด็กผู้ชายอายุ 9 – 26 ปี สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก เน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12 ปี
- ครั้งที่ 1 : ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
- ครั้งที่ 2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน
- ครั้งที่ 3 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน
- ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัส HPV
- ผลข้างเคียงน้อยมาก อาจมีอาการปวด บวม คัน ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หายได้เอง
- สามารถฉีดร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ป้องกันไวรัส HPV ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย
- ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน